|
วันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๖๑
กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลนาโพธิ์
โครงการสืบสานภูมิปัญญาพืชสมุนไพรพื้นบ้าน เพื่อพัฒนาฐานการเรียนรู้ สู่การดูแลสุขภาวะตามวิถีพอเพียงอย่างยั่งยืน
ด้วย กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลนาโพธิ์ มีความประสงค์จะจัดทำโครงการตามแผนงาน โครงการสืบสานภูมิปัญญาพืชสมุนไพรพื้นบ้าน เพื่อพัฒนาฐานการเรียนรู้ สู่การดูแลสุขภาวะ ตามวิถีพอเพียงอย่างยั่งยืน โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณ จากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาโพธิ์
หลักการเหตุผล
สมุนไพร หมายถึง พืชที่ใช้ทำเป็นเครื่องยา สมุนไพรที่กำหนดมาจากธรรมชาติ และมีความหมายต่อชีวิตมนุษย์โดยเฉพาะทาง ในทางสุขภาพ อันหมายถึง การส่งเสริมสุขภาพและการรักษาโรค ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย เป็นการดูแลสุขภาพในชุมชนแบบพื้นบ้านดั้งเดิมที่อยู่คู่กับประเทศไทยมาตั้งแต่ก่อนสมัยกรุงสุโขทัย ซึ่งมีความหลากหลายและเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไปตามแต่ละสังคม วัฒนธรรม กลุ่มชาติพันธุ์ และรูปแบบการรักษามีทั้งการใช้ยาสมุนไพร การนวด การผดุงครรภ์ตลอดจนการรักษาทางจิตใจโดยใช้พิธีกรรมหรือคาถาต่างๆซึ่งสามารถตอบสนองต่อความต้องการทางด้านการรักษาสุขภาพ และความเจ็บป่วยของประชาชนได้เป็นอย่างดี แต่จากการพัฒนาในทุกด้านที่ยึดการพัฒนาตามระบบทุนนิยม ทำให้ชุมชนมีค่านิยมตามแนวทางของตะวันตกเป็นหลัก โดยเฉพาะด้านการจัดการสุขภาพที่เน้นการพึ่งพิงจากภายนอกเป็นส่วนใหญ่ สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ภูมิปัญญาและองค์ความรู้การดูแลสุขภาพเดิมที่มีอยู่ในชุมชนไม่ได้รับการพัฒนาและถูกทอดทิ้งจากคนรุ่นใหม่ ขาดการสืบทอดและผู้รู้ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุซึ่งนับวันจะมีจำนวนลดลง ทำให้ชุมชนรับประโยชน์จากภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านน้อยกว่าที่ควรจะเป็นทั้ง ๆ ที่ความรู้เหล่านี้สามารถช่วยดูแลรักษาความเจ็บป่วยให้กับชาวบ้านได้อีกทั้งองค์ความรู้ทางการแพทย์พื้นบ้านไทย ทั้งที่เป็นตัวหมอพื้นบ้าน ตำรา พันธุ์พืชที่ใช้เป็นยา สมุนไพร วิธีการการรักษาโรค ตลอดจนสังคมวัฒนธรรม ประเพณีและวิถีชีวิต ฯลฯมีความสำคัญและเป็นสิ่งล้ำค่าที่ควรจะเก็บรวบรวม อนุรักษ์ ฟื้นฟูภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านไทยให้อยู่คู่กับประเทศไทย เพื่อเป็นมรดกต่อลูกหลานในการสืบทอดองค์ความรู้
ดังนั้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลนาโพธิ์ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าวในข้างต้น จึงจัดโครงการสืบสานภูมิปัญญาพืชสมุนไพรพื้นบ้าน เพื่อพัฒนาฐานการเรียนรู้ สู่การดูแลสุขภาวะ ตามวิถีพอเพียงอย่างยั่งยืน ขึ้น เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการใช้สมุนไพรไทยให้คงอยู่ สืบไป
1. วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด
1.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนตระหนัก เห็นความสำคัญของการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรไปใช้เพื่อการดูแลสุขภาพ ทั้งคน พืช สัตว์และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนร่วมมือกันอนุรักษ์ สืบทอดภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรไทยให้คงอยู่สืบไป
2.เพื่อสร้างฐานการเรียนรู้สมุนไพรพื้นบ้าน โดยการจัดทำ “แปลงสาธิตสวนสมุนไพรพูดได้”
3.เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์กลาง การศึกษาเรียนรู้ด้านวิชาการ พันธุ์พืชสมุนไพร การถ่ายทอดภูมิปัญญา และการ ต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพเชิงพาณิชย์ ในชุมชน ต่อไป
2. วิธีดำเนินการ
1. จัดทำโครงการเพื่อเสนอขอพิจารณาเห็นชอบ และอนุมัติการดำเนินโครงการต่อ คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลนาโพธิ์
2. ประชาสัมพันธ์โครงการให้กลุ่มเป้าหมายทราบ โดยหนังสือประชาสัมพันธ์ และผ่านหอกระจายข่าว ประกอบด้วย หมอพื้นบ้าน/แพทย์แผนไทย นักเรียน/สภาเยาวชน หมู่บ้าน อสม. ผู้นำชุมชน ชมรมผู้สูงอายุ กลุ่มสตรีแม่บ้าน และพนักงาน เจ้าหน้าที่ อบต.นาโพธิ์ รวม 80 คน
3. จัดกิจกรรมอบรมตามโครงการ
- อบรมให้ความรู้สมุนไพรไทย กับ ภูมิปัญญาการดูแลสุขภาวะ
- กิจกรรมทอดผ้าป้าพันธุ์พืชสมุนไพร
-กิจกรรมจัดทำ“แปลงสาธิต สวนสมุนไพรพูดได้”
4. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ ต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลนาโพธิ์
3. ระยะเวลาดำเนินการ
ระหว่างเดือน มกราคม – กันยายน พ.ศ. 2561
|