องค์การบริหารส่วนตำบลนาโพธิ์ ตำบลนาโพธิ์ อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม : www.tambonnapho.go.th
หน้าหลัก
ข่าวกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
กระดานถาม-ตอบ
ติดต่อ-สอบถาม
คู่มือสำหรับประชาชน
การจดทะเบียนพาณิชย์
รายละเอียดข่าว
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้ออกประกาศตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ.2499 ให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจ ดังต่อไปนี้
1. การทำโรงสีข้าว และการทำโรงเลื่อยที่ใช้เครื่องจักร
2. การขายสินค้าไม่ว่าอย่างใด ๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม คิดรวมทั้งสิ้น
ในวันหนึ่งวันใดขายได้เป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป หรือมีสินค้าดังกล่าวไว้เพื่อขายมีค่ารวมทั้งสิ้นเป็นเงินตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป
3. การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนค้าต่างซึ่งทำการเกี่ยวกับสินค้าไม่ว่าอย่างใด ๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม และสินค้านั้นมีค่ารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป
4. การประกอบหัตถกรรมหรือการอุตสาหกรรมไม่ว่าอย่างใด ๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม และขายสินค้าที่ผลิตได้มีค่ารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป หรือในวันหนึ่งวันใดมีสินค้าที่ผลิตได้มีค่ารวมทั้งสิ้นเป็นเงินตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป (สำหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ทำสวนยางซึ่งนำน้ำยางที่กรีดได้จากสวนยางของตนเอง มาทำเป็นยางแผ่น ยางดอก หรือยางรมควันออกขาย ในขณะนี้ได้รับการผ่อนผันจะไม่จดทะเบียนพาณิชย์ ก็ได้)
5. การขนส่งทางทะเล การขนส่งโดยเรือกลไฟ หรือเรือยนต์ประจำทาง การขนส่งโดยรถไฟ การขนส่งโดยรถราง การขนส่งโดยรถยนต์ประจำทาง การขายทอดตลาด การรับซื้อขายที่ดิน การกู้ยืมเงิน การรับแลกเปลี่ยนหรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การซื้อหรือขายตั๋วเงิน การธนาคาร การโพยก๊วน การทำโรงรับจำนำ และการทำโรงแรม
6. การขายหรือให้เช่าแผ่นซีดี แถบบันทึก วีดิทัศน์ แผ่นวีดิทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่น วีดิทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง
7. การขายอัญมณี หรือเครื่องประดับซึ่งประดับด้วยอัญมณี
8. การซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการ ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
9. การบริการอินเทอร์เน็ต
10. การให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์ แม่ข่าย
11. การบริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
12. การผลิต รับจ้างผลิต แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดิทัศน์ แผ่นวีดิทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่นวีดิทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง
13. การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อินเตอร์เน็ต
14. การให้บริการฟังเพลงและร้องเพลงโดยคาราโอเกะ
15. การให้บริการเครื่องเล่นเกมส์
16. การให้บริการตู้เพลง
17. โรงงานแปรสภาพ และสลักและการทำหัตถกรรมจากงาช้าง การค้าปลีกการค้าส่งงาช้าง และผลิตภัณฑ์จากงาช้าง
ในกรณีที่ผู้ประกอบพาณิชยกิจตาม 3.1
–
3.5 เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือบริษัทมหาชนจำกัดตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ แต่หากประกอบพาณิชยกิจตาม 3.6 - 3.17 จะไม่ได้รับการยกเว้นและต้องจะทะเบียนพาณิชย์เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา
ประเภทของการจดทะเบียนพาณิชย์
การจดทะเบียนพาณิชย์มี 3 ประเภท ได้แก่
1. การจดทะเบียนพาณิชย์ (ตั้งใหม่)
2. การจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนพาณิชย์
3. การจดทะเบียนเลิก
กำหนดระยะเวลาการจดทะเบียน
1.
จดทะเบียนพาณิชย์ (ตั้งใหม่)
ผู้ประกอบพาณิชย์กิจต้องยื่นขอจดทะเบียนพาณิชย์ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันเริ่มประกอบพาณิชยกิจ
2.
จดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการ
ถ้าผู้ประกอบพาณิชยกิจ มีการเปลี่ยนแปลงรายการที่จดทะเบียนไว้ตามรายการข้างล่างนี้ ผู้ประกอบพาณิชยกิจต้องยื่นขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงรายการที่จดทะเบียนไว้
เดิมรายการที่ต้องยื่นจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง มีดังนี้
1. เลิกชนิดประกอบกิจการบางส่วนและ/หรือเพิ่มใหม่
2. เปลี่ยนชื่อที่ใช้ในการประกอบกิจการ
3. ย้ายสำนักงานใหญ่
4. เปลี่ยนผู้จัดการ
5. เจ้าของหรือผู้จัดการย้ายที่อยู่
6. เพิ่มหรือลดเงินทุน
7. ย้าย เลิก หรือ เพิ่มสาขา โรงเก็บสินค้า หรือตัวแทนค้าต่าง
8. รายการอื่น ๆ เช่น เจ้าของหรือผู้จัดการเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุล เป็นต้น
การจดทะเบียนเลิกประกอบพาณิชยกิจ
ในกรณีที่มีผู้ประกอบพาณิชยกิจเลิกประกอบกิจการ ผู้ประกอบพาณิชยกิจต้องยื่นขอจดทะเบียนเลิกประกอบกิจการ ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันเลิกประกอบ
พาณิชยกิจ
ขั้นตอนการจดทะเบียนพาณิชย์
1. กรอกแบบฟอร์มคำขอจดทะเบียนต่าง ๆ 3 นาที
2. ตรวจสอบหลักฐานประกอบการจดทะเบียน 1 นาที
3. ออกใบทะเบียนพาณิชย์ 2 นาที
4. ออกใบเสร็จรับเงินค่าธรรมเนียมทะเบียนพาณิชย์ 1 นาที
เอกสารที่ต้องใช้จดทะเบียนพาณิชย์
1.
สำเนาบัตรประชาชนเจ้าของกิจการ หรือหุ้นส่วนผู้จัดการ
(
กรณีคณะบุคคล/ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล)
หรือ ผู้รับผิดชอบในการประกอบกิจการในประเทศ (กรณีนิติบุคคลต่างประเทศ)
2
.
สำเนาทะเบียนบ้านเจ้าของกิจการ
3.
หนังสือมอบอำนาจพร้อมติดอากรแสตมป์
10
บาท (ถ้ามี)
4.
สำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ (ถ้ามี)
กรณีเจ้าของกิจการมิได้เป็นเจ้าบ้าน ณ สถานประกอบการดังกล่าว
แนบเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้
หนังสือยินยอมจากเจ้าบ้าน และสำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประชาชนเจ้าบ้าน
กรณีเช่าสถานที่
ผู้ให้เช่าเป็นบุคคลธรรมดา
1.
สำเนาทะเบียนบ้านของเลขที่ตั้งสถานประกอบการ
2.
สำเนาสัญญาเช่า พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
3.
สำเนาบัตรประชาชนผู้ให้เช่า (เจ้าบ้าน)
ผู้ให้ใช้เช่ามีสถานะเป็นบริษัท
1.
สำเนาสัญญาเช่า พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
2.
หนังสือรับรองบริษัท พร้อมลงลายมือชื่อของผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท
3.
สำเนาบัตรประชาชนของผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท
เอกสารที่ต้องใช้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลง
1.
สำเนาบัตรประชาชนเจ้าของกิจการ หรือหุ้นส่วนผู้จัดการ
(
กรณีคณะบุคคล/ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล)
หรือ
ผู้รับผิดชอบในการประกอบกิจการในประเทศ (กรณีที่เป็นนิติบุคคลต่างประเทศ)
2.
สำเนาทะเบียนบ้านเจ้าของกิจการ
3.
หนังสือมอบอำนาจพร้อมติดอากรแสตมป์
10
บาท (ถ้ามี)
4.
สำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ (ถ้ามี)
5.
ใบทะเบียนพาณิชย์
เอกสารที่ต้องใช้จดยกเลิกทะเบียนพาณิชย์
1.
สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของกิจการ
หรือหุ้นส่วนผู้จัดการ หรือผู้รับผิดชอบในการประกอบกิจการในประเทศ
กรณีนิติบุคคลต่างประเทศ
2.
ใบทะเบียนพาณิชย์หรือใบแจ้งความ กรณีใบทะเบียนพาณิชย์สูญหาย
3.
สำเนาเอกสารการสั่งเลิกประกอบกิจการในประเทศ กรณีเป็นนิติบุคคลต่างประเทศ
4.
สำเนาใบมรณะบัตรของผู้ประกอบกิจการ กรณีผู้ประกอบกิจการถึงแก่กรรม
5.
หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
6.
สำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (ถ้ามี)
เอกสารที่ใช้กรณีการคัดรับรองสำเนาการขอตรวจเอกสารทะเบียนพาณิชย์
1.
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำร้อง
ค่าธรรมเนียม
1.
จดทะเบียนจัดตั้งใหม่ ฉบับละ
50
บาท
2.
จดทะเบียนเปลี่ยนแปลง ฉบับละ
20
บาท
3.
จดทะเบียนยกเลิก ฉบับละ
20
บาท
4.
ออกใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ ฉบับละ
30
บาท
5.
ตรวจเอกสาร ครั้งละ
20
บาท
6.
คัดสำเนาและรับรองสำเนา ฉบับละ
30
บาท
หมายเหตุ: ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภายใน
30
วัน นับตั้งแต่วันที่เริ่มประกอบกิจการ
หรือวันที่มีการเปลี่ยนแปลง หรือ วันเลิกประกอบกิจการ กรณีแจ้งเลิกเพราะเหตุผู้ประกอบกิจการถึงแก่กรรม ให้ลงชื่อโดยทายาทคนใดคนหนึ่ง
หรือผู้จัดการมรดก หรือผู้ทำการแทนทายาท หรือผู้รับมอบอำนาจจากทายาท
""""""""""""""""
ประวัติบ้าน บ้านนาโพธิ์
หมู่ที่ 1
ดังได้ยินมาว่า ยังมีนายพราน พ่อกระโหนด (หัวหน้า) คนหนึ่ง ชื่อล้าน วันเหิม มีอาวุธปืน อับเพลิง ใช้ลูกดอกหนัก 10 สลึง เพื่อล่าสัตว์ จำพวกเสือ สิง กระทิง แรด กวางฟาน ในห้วยแพงคำฮัก บรรจบกับลำห้วยหนองแหน พร้อมลูกน้องหลายคน ได้มาตั้งทับที่หนองน้ำวังโพน โพนก็ใหญ่ น้ำอาศัยก็ดี มาหลายขวบหลายคราว จนเศษเมล็ดมะเขือ กลายเป็นต้นสุกเหลืองอร่าม หมากเขือหลาย ผู้คนมาจากทั่วสารทิศต่างๆ มาเห็นหมากเขือหลาย ทั้งหลายก็ว่าหมากเขือ แล้วพวกพรานดังกล่าวได้แสวงหาเนื้อ ก็เห็นที่ดินอุดมสมบูรณ์ก็ชวนกันมาจับจองที่นา แล้วมาตั้งบ้านก็เรียกชื่อว่า บ้านห้วยมะเขือ ต่อมาทางราชการได้มาเห็นต้นโพธิ์ใหญ่ ท่านนายอำเภอจึงขนานนามใหม่ว่า บ้านนาโพธิ์ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา (ปัจจุบันนี้บ้านห้วยมะเขือเป็นหมู่บ้านหนึ่งในตำบลนาโพธิ์ หมู่ที่17)
ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2420 ตรงกับวันอังคารขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 วันที่ 5 กุมภาพันธ์ เดือน 8 ปีอธิกมาส จ.ศ. 1239 ร.ศ. 96 ค.ศ. 1877 รัชกาลที่ 5
รายชื่อผู้ใหญ่บ้าน
นายขุนศรี เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก นายพรม โพธิพาบ
นายพิมพ์ จันทน์เทศ นายลี แสงอ่อน
นายแก้ว จันเขต นายศรี นิรงบุตร
นายเคน จันทร์ศรี
แยกออกจากตำบลกุดรัง วันที่ 10 กันยายน 2514
ตั้งนายเคน จันทร์ศรี เป็นกำนันคนแรก
คนที่ 2 นายทองปัน มูลเสาร์
คนที่ 3 นายสุนทร รัตเมือง
คนที่ 4 นายสมโภชย์ เสาวรส
ประวัติบ้านห้วยมะเขือ
แรกเริ่มที่ได้มีผู้เฒ่าผู้แก่เริ่มตั้งบ้าน ได้ปรึกษากับพ่อใหญ่ขุนศรี นิรงบุตร ว่าบ้านของพวกเราจะต้องตั้งวัดให้เป็นที่พึ่งทางใจจะดีใหม่พ่อผู้ใหญ่ก็เห็นพร้อมว่าจะตั้งทางไหนของบ้าน พ่อหายกลี แสงอ่อน ท่านเอาแปนมากลางบอกว่าตั้งทางทิศเหนือของบ้านจึงตกลงกันไปทางสถานที่ตั้งวัดเก่าได้มีพ่อผู้ใหญ่ขุนศรี นิรงบุตรกับพวกหายกและลูกบ้านมี
1. พ่อหายกสี แสงอ่อน
2. พ่อใหญ่ล้วน วันเหิม
3. พ่อใหญ่จารย์โหล่ มุภาษา
4. พ่อใหญ่กระจ้ำสอนเคน โลเชียงสาย
5. พ่อใหญ่กม ราธมะโฮง
6. พ่อใหญ่สอนยุ้ย จันเทศ
7. พ่อใหญ่จารซาเหล่า โสเชียงสาย
8.พ่อใหญ่แก่ว วัฒพล
9. พ่อใหญ่โข่ สาขมา
10. พ่อใหญ่หลุ่ม สีเทา
จึงปรึกษาว่าจะได้พระที่ไหนมาอยู่ ทางพ่อใหญ่จานโหลพูดขึ้นต้องไปนิมนต์อาจารย์ มุภาษา ที่บ้านกุดรังเพราะเป็นสายญาติ อาจท่านจะรับพิมพ์ก็ได้เพราะท่านไปเรียนหนังสือที่จังหวัดอยุธยา 3 ปี และเดี๋ยวนี้ท่านมาพักอยู่ที่บ้านกุดรังแล้ว
ก็มากันไปนิมนต์พระอาจารย์บุญ มุภาษา ที่บ้านกุดรังท่านก็รับพิมพ์และพากัน ท่านจึงรับพิมพ์จึงพากันกับบ้าน วันต่อมาก็พากันปลูกที่พักสงฆ์สองห้อง หลังคามุงด้วยห้าคา วันที่ปลูกที่พักสงฆ์ท่านผู้ใหญ่ขุนศรี นิรงบุตรท่านเองบันทึกไว้
เป็นวันที่ 5 มกราคม 2436 ตรงกับวันพุทธขึ้น 9 ค่ำ เดือนยี่ปีมะเส็ง จศ. 1255 ค.ศ. 1893 (ฝรั่งยึดจันทบุรี เป็นอริก
มาส ( เดือน 8 สองหน ) ปกติมาส ปกสุรรทิน (เดือนกุมภาพันธ์ 18 วัน) สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เสวยราช ต่อมา 3 วัน ก็พาท่านไปรับ พระอาจารย์บุญ มุภาษา ที่บ้านกุดรัง ได้จัวน้อยมาพร้อม 2 องค์ พระอาจารย์บุญ มุภาษา ท่านพูดว่ายังไม่มีกลองเพลและฆ้องระฆังทำให้ทายกเดินป่าวบอกชาวบ้าน มาจั่งทัณวันเพ็ญ และตอนเย็นได้เดินทางบอกหนุ่มสาวมาถางหญ้าและจะสอนหนังสือให้เพื่อให้ลูกหลานไหว้พระสวดมนต์ และจพสอน กข กกา และเลข 1-9 ท่านเขียนบอกหนุ่มสาว ก-ฮ รร กิ กี กึ กื กุ กู เก แก ไก โก กา กำ กระ
อีต่อไปและท่านสอน จัววน้อย แจกเป็นตัวอักษร ให้ได้ ท่านอาจารย์บอกให้จำใส่ใจ พระอาจารย์บุญ มุภาษา เป็นครูคนแรก พระอาจารย์บุญ ลาสิกขา ก็มีพระอาจารย์ อ้วน ซึ่งเป็นลูกของพ่อใหญ่สอนยุ้ย วันเพศ ได้ไปเรียนหนังสือที่กรุงเทพ ขึ้นมาต่ออีกท่านเรียนรู้ยาแผนโบราณ และได้สมณะศักดิ์เป็นสมุทางคณะสงฆ์ก็ได้ตั้งชื่อว่า พระอาจารย์ สมุแพทย์ (อ้วน) พวกยาทก็นำพาลูกหลานไปบวชที่จังหวัดมหาสารคาม กับเจ้าคุณสารคามมุณี คือ นาคสนธ์ ลูกพ่อให่ลล้าน วันเหิม นาคพิมพ์ ลูกพ่อใหญ่ทายากสี แสงอ่อน จัวน้อย ถวิล (ยุ้ง) ลูกพ่อใหญ่กม ราชมะโรง จัวน้อยอ้วน
ลูกพ่อใหญ่แก้ว วัฒนพล ต่อมาหลายปี พระอาจารย์สมุแพทย์ ท่านเห็นว่าวัดไกลหนองน้ำ ท่านจึงปรึกษาโยมขอสวนที่
อยู่ใกล้น้ำวังโพน เมื่อย้ายวัดมาใกล้หนองน้ำมีสวนพ่อใหญ่นายกสี แสงอ่อน สวนพ่อใหญ่จ้ำสอน โลเชียงสาย สวนพ่อใหญ่ขุน
ศรี นิรงบุตร และสวนอีหลายสวน จึงพาญาติโยมมาทางและย้ายวัดมาใกล้ น้ำย้ายมา ครั้งที่ 2 วันที่ 1 มีนาคม 2462 ตรงกับปีมะแมเอกศก จศ. 1281 ร.ศ. 138 คศ.1919 ปกติมาศ ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 4 สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเก้าเจ้าอยู่หัว เสวยราช ผู้ใหญ่บ้านพรม โพธิบาย เป็นผู้ใหญ่บ้าน ต่อมาอาจารย์สมุแพทย์ ลาสิขา มีอาจารยืพาลา น้องชายซึ่งเป็นลูกพ่อใหญ่สอนยุ้ย วันเทศ แทนอาจารย์เหลาท่านได้ตั้งอุโบสถ พระอาจารย์เหลาเป็นผู้ให้กำเนิดอุโบสถ ต่อมาอาจารย์ปู้ มาจากบบ้านหนองรูแข้ ได้มาสร้างธรรมาศที่เห็นอยู่ทุกวันนี้ และอาจารย์ที่สำคัญคือ อาจารย์พระครูพิพัติศรีระคุณ และ พระครูเขียวเป็นสำคัญ
ข้อมูลจากพ่อใหญ่
เฮียง อันทอง
ประวัติพระเจ้าใหญ่บ้านนาโพธิ์และที่มาของประเพณีการแห่พระ
พอถึงวันเพ็ญเดือนหกของทุกปีชาวตำบลนาโพธิ์คงจะคุ้นตากับขบวนรถยาวเหยียดนับร้อยคันรถรถคันที่นำหน้าพระพุทธรูป พระสงฆ์และเหล่าทายกทายิกา รวมถึงบรรดาชาวบ้านและเด็กหนุ่มเด็กสาวแต่งตัวสวยงามร่วมอยู่ในรถในขบวนเหล่านั้นที่แห่ติดตามกันไปจนครบทุกหมู่บ้านในตำบลนาโพธิ์ ถือเป็นประเพณีสืบมาแต่โบราณมีคนต่างถิ่นแม้กระทั่งคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ได้สงสัยว่าทำไมที่นี่ถึงมีการแห่พระ ที่อื่นไม่เห็นมีเพื่อตอบข้อสงสัยและได้ข้อมูลที่ถูกต้องได้มีผู้เล็งเห็นความสำคัญ นั่นก็คือพ่อคำผาย อันทอง ซึ่งเดิมเป็นชาวบ้านหนองโดนแต่ปัจจุบันได้มาอยู่
กับลูกที่บ้านหนองแหน พ่อคำผายถือเป็นปราชญ์ชาวบ้านที่ทรงภูมิปัญญา เพราะท่านได้สืบค้นข้อมูลจากคนเฒ่าคนแก่รุ่นก่อนจนได้ข้อมูลที่แท้จริงจึงบันทึกไว้เป็นหลักฐานสำคัญหลายเรื่อง และให้ข้าพเจ้าได้จัดพิมพ์เผยแพร่เพื่อเป็นวิทยาทาน สำหรับเรื่องการแห่พระนั้นท่านว่าไว้ดังนี้
ตามประวัติเดิมท่านพระอาจารย์เหล่าเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านนาโพธิ์ ท่านริเริ่มจะปลูกพัทธสีมา ท่านได้ปรึกษาหารือผู้เฒ่าผู้แก่รุ่นที่มาตั้งหมู่บ้าน ซึ่งในตอนนั้นก็ยังอยู่หลายคนในขณะนั้นมีนายพรม โพธิ์ภาพเป็นผู้ใหญ่บ้าน จึงได้จัดประชุมและตกลงกันว่าจะดำเนินการโดยปั้นอิฐเอง ชาวบ้านจึงร่วมมือกันทำเตาเผาอิฐอยู่ที่โพนนาของพ่อใหญ่โข่ สายมา ซึ่งในปัจจุบันนี้คือที่นาของแม่บัวลุน อันทอง ชาวบ้านนาโพธิ์
ในการขนอิฐนั้นชาวบ้านขอได้รับความร่วมมือจากครูโรงเรียนบ้านนาโพธิ์ให้ขอแรงจากนักเรียนโรงเรียนบ้านนาโพธิ์ช่วยกันขนอิฐคนละสองก้อนหลังจากเผาเสร็จ ซึ่งในตอนนั้นมีนักเรียนประมาณ 200 คน ได้ช่วยกันขนอิฐจนดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ
เมื่อการก่อสร้างอุโบสถเสร็จแล้วก็คิดหาพระพุทธรูปมาประดิษฐานไว้ในอุโบสถ ในขณะนั้นพระมหาทองลา แสงอ่อน ซึ่งเป็นบุตรของพ่อทายกศรี และแม่เพ็ง แสงอ่อน หนึ่งในคณะที่มาตั้งหมู่บ้านได้ไปบวชเรียนที่วัดอนงคาราม กรุงเทพมหานคร ท่านได้ขอพระพุทธรูปใหญ่จากเจ้าอาวาสวัดอนงคารามมาเป็นพระคู่บ้านคู่เมือง ซึ่งได้รับอนุญาตโดยมีข้อแม้ว่าต้องปฏิบัติตามจารีตประเพณี คือ เมื่อถึงวันวิสาขบูชาตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันประสูติ ตรัส
รู้ และปรินิพานของพระพุทธเจ้าจะต้องนำองค์พระพุทธรูปแห่รอบหมู่บ้านให้ชาวบ้านได้สรงน้ำพระ ถ้าปีใดเป็นปีอธิกมาส หรือแปดสองหนให้ถือเอาวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ปฏิบัติเช่นเดียวกัน หากปฏิบัติได้เช่นนี้บ้าน หมู่บ้านจะอยู่เย็นเป็นสุข ฝนก็จะตกถูกต้องตามฤดูกาล
เมื่อตกลงเช่นนั้นพระมหาทองลา จึงได้ส่งจดหมายมาถึงผู้ใหญ่บ้านและทายกทายิกาบ้านห้วยมะเขือ (บ้านนาโพธิ์ในปัจจุบัน) ให้เอาเกวียนไปรับพระพุทธรูปที่กิ่งอำเภอบ้านไผ่ (อ.บ้านไผ่ปัจจุบัน) ในวันสงกรานต์ที่ 13 เมษายน ราวๆ พ.ศ. 2460 คณะที่ไปรับก็มีผู้ใหญ่บ้านผู้เฒ่าผู้แก่รวมถึงพ่อทายกศรี และแม่เพ็ง บิดามารดาของพระมหาทองลาด้วย
เมื่อได้พระประธานมาแล้วทุกปีชาวบ้านก็จะแห่รอบหมู่บ้านตามที่ได้ตกลงกัน ในปีต่อมาชาวบ้านหนองโดนได้ขอร้องให้ให้แห่ไปบ้านหนองโดนด้วยจะมีการต้อนรับในเวลาพระฉันเพล ชาวบ้านนาโพธิ์ก็เห็นด้วย จึงได้จัดแจงเอาเกวียนเป็นยานพาหนะใช้คานไม้ไผ่หลายๆ คาน ใช้หนังผูกและให้คนหนุ่มสาวชวยกันลากเข็นเป็นที่สนุกสนานครึกครื้นในระหว่างการเดินทาง เมื่อไปถึงวัดบ้านหนองโดนชาวบ้านก็มาสรงน้ำพระและจัดข้าวปลาอาหารต้อนรับคณะที่มาจากบ้านนาโพธิ์เป็นประจำทุกปี
ในปีต่อมาเมื่อมีการพัฒนาถนนทางการคมนาคมสะดวกขึ้น ชาวบ้านที่มีรถยนต์ก็ได้นำรถยนต์มาร่วมขบวนแห่ทั้งใช้เป็นรถแห่พระประธาน พระสงฆ์ ใครมีลูกหลานจะบวชก็เอานาคไปร่วมขบวนแห่ทั้งพ่อนาคแม่นาคและชาวบ้านก็สามารถนั่งรถได้ทุกคันโดยไม่มีการเก็บค่าโดยสาร ถือว่าเป็นการร่วมทำบุญด้วยน้ำใสใจจริงและขบวนแห่ก็ไปจนครบทุกหมู่บ้านในตำบลนาโพธิ์ทุกๆ ปี จำนวนรถที่ร่วมขบวนก็จะมากขึ้นๆ คนในขบวนก็เปลี่ยนไปหลายรุ่นเด็กหนุ่มสาวรุ่นใหม่ก็มีโอกาสเข้าร่วมประเพณีสำคัญ
นี้ ส่วนชาวบ้านแต่ละหมู่บ้านก็จะนำพระพุทธรูปมาร่วมขบวนเพื่อให้ชาวบ้านได้สรงน้ำและปิดทอง ประเพณีการแห่พระก็เป็นมาด้วยประการฉะนี้
ถึงแม้พระเจ้าใหญ่คู่บ้านคู่เมืองของชาวตำบลนาโพธิ์จะมีคนร้ายได้ขโมยพระเนตรซึ่งเป็นนิลทั้งคู่หายไป ซ้ำร้ายยังมีคนใจบาปขโมยองค์พระไปหลายปีแล้วประเพณีศักดิ์สิทธิ์นี้ก็ยังคงอยู่ คงจะดีไม่น้อยถ้ามีใครสักคนที่สามารถติดตามหาเบาะแสและนำพระเจ้าใหญ่ของเรากลับมาไว้เช่นเดิม ขบวนแห่พระของเราคงจะศักดิ์สิทธ์ยิงขึ้นและตำบลนาโพธิ์ของเราคงจะกลับมาอุดมสมบูรณ์และร่มเย็นเป็นสุขมากกว่านี้
แหล่งข้อมูล….พ่อคำผาย อันทอง
เรียบเรียงโดย…อาจารย์นงคราญ ซาตัน
โรงเรียนนาโพธิ์พิทยาสรรพ์
ประวัติหอธัมมาศบ้านนาโพธิ์
หอธัมมาศบ้านนาโพธิ์ นายช่างชื่อพระอาจารย์ครูเบ้า มาจากบ้านหนองรูแข้ หมู่บ้านนาโพธิ์ปรึกษากันว่าอยากจะได้ธัมมาศ เพราะจะทำบุญมหาชาติทุกปีก็หาลำบากหาต้นกล้วย 4 ต้นใหญ่ๆ มาตั้งเป็นเสาใช้ไม้แทนกล้วย เป็นขาง ยึด 4 ด้าน แล้วคาดตรงใช้แป้นปู แล้วสานผาแจมตองแอ้ม 3 ด้าน แล้วเอาต้นอ้อย 4 ต้นมามัด แล้วเอาดอกจิกทำด้วยลำมอญปักลอบทำอย่างนี้ทุกปีทางนายพรม โพธิพาบ เป็นผู้ใหญ่บ้าน พ.ศ. 2453-2478 ออกความคิดว่าจ้างนายช่างทำก็จะได้ใช้นานหลายปี ถามอาจารย์ครูเบ้าท่านว่าจะเอาค่าช่าง 100 บาท ให้ชาวบ้านเป็นไม้ ชาวบ้านก็เห็นดีด้วยว่าไม้ขวาและไม้ส้มกบมีเยอะแยะยากแต่เงินค่าช่างเพราะในระยะนั้นเงินหายาก ถ้าอยากได้เงินต้องลงไปขายหนังแห้ง หรือขายหมูที่จอหอเมืองโคราชจึงได้เงิน ส่วนพ่อทาแม่ใบจึงพูดขึ้นว่าจะออกค่าจ้างคนเดียว ชาวบ้านจะว่าอย่างไร ทางชาวบ้านว่าดีแล้ว แต่พอทาเลยพูดขึ้นว่าถ้าออกคนเดียวจะขอราคา 80 บาท จะได้ไหมท่านอาจารย์เบ้าเลยพูดขึ้นว่าถ้ามีศรัทธาแรงกล้าตกลง ชาวบ้านก็พากันเลื่อยไม้ขวาและไม้ส้มกบ พ่อใหญ่ทาก็วางแผนหาซื้อหนังควายเฒ่าตาย หนังวัวเฒ่าตายมาตากแห้ง รวบรวมอยู่เป็นปีจึงใส่เกวียนลงไปขายกับพ่อใหญ่หอมสมบัติ รัตรองใต้ ที่จอหอโคราชจึงได้เงินมาให้ค่าช่าง พระอาจารย์ครูเบ้า ก็ลงมือทำตั้งแต่ก่อนออกพรรษาจนออกพรรษาจึงแล้วเสร็จก็พอดีกับเงินค่าขายหนังของพ่อใหญ่ทาก็เป็นอันว่าแล้วเสร็จใน พ.ศ.
ข้อมูลได้มาจากพ่อผู้ใหญ่เฮียง
อันทอง
""""""""""""""""""""""""""""""
ศูนย์กู้ชีพกู้ภัยตำบลนาโพธิ์
หน่วยกู้ชีพกู้ภัยเพื่อบริการประชาชนช่วยเหลือฉุกเฉินด้วยโรคปัจจุบันหรือประสบอุบัติเหตุ ตลอด 24 ชั่วโมง
เพื่อเป็นการลดอัตราเสี่ยงต่อความพิการหรือเจ็บป่วยที่รุนแรง และการเสียชีวิตของประชาชนในท้องถิ่น
สิทธิผู้สูงอายุ
พระราชบัญญัติสูงอายุ พ.ศ. 2546 เป็นกฎหมายที่ให้การคุ้มครอง ส่งเสริม และสนับสนุนผู้สูงอายุได้รับสิทธิในด้านต่างๆ รวมทั้งก่อให้เกิดสิทธิประโยชน์ต่อองค์กรด้านสูงอายุและประชาชนทั่วไป เช่น เงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
หลักเกณฑ์
1. บุคคลซึ่งมีอายุหกสิบปีบิบูรณ์ขึ้นไปและ
มีสัญชาติไทย
2.มีภูมิลำเนาในเขตพื้นที่องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น
3.มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ ถูกทอดทิ้งหรือขาดผู้อุปการะเลี้ยงดู ไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองได้
สิทธิการรับเงินสิ้นสุดลงในกรณี ดังนี้
1. ถึงแก่กรรม
2. ขาดคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์
วิธีการจ่ายเงิน
องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพผู้สูงอายุ ภายในวันที่ 10 ของทุกเดือน
การพิจารณาให้การสงเคราะห์รายใหม่
กรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบัญชีสำรองของ
ผู้สงเคราะห์เบี้ยยังชีพ ที่ผ่านการคัดเลือกไว้ในบัญชีสำรองมา จัดลำดับเปลี่ยนแปลงสิทธิให้กับผู้สูงอายุรายใหม่
ไปตามลำดับ เมื่อผู้มีสิทธิรายเก่าเสียชีวิตหรือขาดคุณสมบัติ ลง
สิทธิประโยชน์สำหรับคนพิจาร
การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ถือเป็นแนวทาง สำคัญในการพัฒนาคนพิการอย่างยั่งยืนอันจะทำให้คนพิการอยู่ในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกับคนทั่วไปเพื่อส่งเสริมให้คนพิการได้รับสิทธิและโอกาสในการฟื้นฟูสมรรถภาพ ทางด้านการแพทย์ การศึกษาอาชีพ และสังคม โดยคนพิการที่จะได้รับสิทธิและโอกาสดังกล่าวให้ยื่นจดทะเบียนคนพิการ
คนพิการ จะได้รับการสงเคราะห์ตาม พ.ร.บ. การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534
การช่วยเหลือเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพคนพิการ
กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น พิจารณาจัดสรรงบประมาณสนับสนุนเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพคนพิการให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยจัดสรรในอัตรา เดือนละ 800 บาทต่อคน
การจ่ายเงิน
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จ่ายเงินสงเคราะห์
เบี้ยยังชีพคนพิการเดือนละ 1 ครั้ง ตามงวดการจัดสรร
งบประมาณของรัฐ
การพัฒนาคุณภาพชีวิต
การช่วยเหลือ
- เงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
- เงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพคนพิการ
- เงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์
เอกสารประกอบ
การจดทะเบียนพาณิชย์
วันที่ลงข่าว
: 8 ก.พ. 2565
ผู้ลงข่าว
: ผู้ดูแลระบบ